ปัญหาที่พระสงฆ์ในปัจจุบันกำลังประสบคือ ปัญหาสุขภาพ
จากข้อมูลกรมการแพทย์ ปี 2559 พบว่าพระสงฆ์และสามเณรมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์มากที่สุด 5 อันดับแรกคือ
1.โรคไขมันในเลือดสูง
2.โรคความดันโลหิตสูง
3.โรคเบาหวาน
4.โรคไตวายเรื้อรัง
5.โรคข้อเข่าเสื่อม
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการวิจัย “ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของพระภิกษุสงฆ์” ปี 2554-2555 พบว่าพระสงฆ์อยู่ในเกณฑ์อ้วน 45.1% มีโรคประจำตัว 40.2% และพระสงค์มีสุขภาพดี 33.3%
สอดคล้องกับผลการตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์และสามเณรทั่วประเทศ 349,659 รูป ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานคร มีภาวะไขมันสูงผิดปกติ ทำให้เกิดโรคอ้วน
ภาคใต้ มีภาวะกรดยูริกสูงและการทำงานของไตผิดปกติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบภาวะโลหิตจางและพระสงฆ์อายุ 35 ปีขึ้นไป เสี่ยงต่อการทำงานของไตผิดปกติถึง 8 เท่า และหากมีภาวะอ้วนร่วมด้วย ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดผิดปกติและเบาหวานมากกว่าปกติ 2 เท่า
โดยสาเหตุของการเกิดโรคส่วนใหญ่มาจากปัญหาการบริโภคไม่ถูกหลักโภชนาการ ประกอบกับสถานภาพของพระภิกษุไม่เอื้อต่อการออกกำลังกายทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค
การหาทางป้องกันแก้ไข
1.สิ่งที่ฆราวาสพึงตระหนัก
ในทุกครั้งที่ตักบาตรหรือนำอาหารมาถวายพระ ให้พิจารณาอาหารที่เหมาะสม
ม่เป็นอาหารที่ที่มีรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง
2.การดูแลสุขภาพพระสงฆ์เป็นเรื่องสำคัญ ต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย
พระสงฆ์หลายรูปอาพาธด้วยโรคต่างๆ ในขณะที่หลายรูปไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ
ทำให้ไม่สามารถรู้ว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง องค์กรสงฆ์ องค์กรสาธารณกุศล และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจัดโครงการตรวจสุขภาพประจำปีให้พระสงฆ์
อุปสรรคสำคัญของพระสงฆ์ในการดูแลสุขภาพ
1.พระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันอาหารเองได้
2.สถานภาพของพระสงฆ์ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย
3.การไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการต่างๆเป็นเรื่องยุ่งยาก
เสี่ยงต่อการทำผิดพระธรรมวินัย ตั้งแต่การเดินทางจนถึงการรักษาที่มีหมอพยาบาลเป็นผู้หญิง