วิกฤตวัยกลางคน ความเปลี่ยนแปลงของตัวตนและความมั่นใจที่สามารถเกิดขึ้น กับคนที่มีอายุตั้งแต่ 35 – 50 ปี ความรุนแรงอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า อาจเป็นวิกฤตที่เลวร้ายของชีวิต สังเกตอย่างไรว่ากำลังอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน
1.อาการที่เด่นชัด คือรู้สึกสับสนกับชีวิต รู้สึกไม่พอใจในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงาน
ชีวิตคู่ ที่อยู่อาศัย เรื่องของสุขภาพและมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง
2.ด้านอารมณ์ ที่พบบ่อยคือ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายหรืออาจซึมเศร้า
3.การกระทำที่แสดงออกให้เห็นชัดเจน เช่น มีความเห็นว่างานที่ทำอยู่ไม่มีความสุข ก็ลาออกจากงานประจำมาเปิดร้านกาแฟ
คิดว่าชีวิตคู่เวลานี้มันไม่ใช่ แล้วก็ขอหย่า /แยกกันอยู่
คิดว่าบ้านที่อยู่ในเวลานี้มันไม่น่าอยู่ แล้วก็ทุ่มเงินซื้อบ้านใหม่
4.ความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย หมดความสนใจในกิจกรรม สิ่งของหรือผู้คนที่เคยทำให้มีความสุข
5.เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง
6.การเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วของความต้องการทางเพศ
7.การนอกใจคู่ครอง
8.ความทะเยอทะยานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
9.ความเศร้าซึมเรื้อรัง
10.ภาวะ “รังที่ว่างเปล่า” (Empty-nest syndrome)
การที่ลูกๆต้องออกจากบ้านเพื่อไปอยู่ที่อื่น อาจไปเรียนหรือไปทำงานที่อื่น แต่งงานมีครอบครัว ทำให้พ่อแม่เกิดความรู้สึกเหงาหรือเศร้า คนที่ปรับตัวไม่ได้อาจเกิดโรคซึมเศร้าตามมาภาวะนี้มักจะเกิดกับผู้ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลลูก ผูกพันติดกับลูกมากหรือในรายที่ครอบครัวชีวิตคู่มีปัญหาแต่ต้องทนอยู่เพื่อลูก
วิกฤตวัยกลางคนเกิดจากอะไร
1.การเสื่อมของร่างกาย
เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หลายคนรู้สึกได้ว่าตัวเองไม่ฟิตเท่าเดิม
เริ่มอ้วน เริ่มหัวล้าน เริ่มมีโรคประจำตัวมากขึ้น
2.ฮอร์โมนเปลี่ยน ผู้หญิงเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน
3.ความต้องการความสำเร็จ
นอกจากชีวิตครอบครัว ก็มีเรื่องของการทำงาน
คนส่วนใหญ่ต้องการที่จะประสบความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้
4.อายุที่เพิ่มขึ้น จึงเริ่มตระหนักได้ว่าเวลาเหลืออีกไม่มาก
5.การสูญเสียการจากไปของคนใกล้ชิด
คนในวัยนี้มักพบเหตุการณ์ที่คนใกล้ชิดเสียชีวิต เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และเพื่อนฝูง
ปัจจัยหลักที่แท้จริงของปัญหาวิกฤตวัยกลางคนคือ
1.การไม่เตรียมตัวที่จะเข้าสู่วัยกลางคน
ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่มีใครเตรียมตัว การเตรียมตัวที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในวัยผู้ใหญ่
2.การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง
ที่จะต้องเผชิญทั้งร่างกายและจิตใจเมื่อถึงวัยกลางคน
3.การใช้ชีวิตไปวันๆ
คนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตไปวันๆอย่างประมาท มีโอกาสสูงที่จะเผชิญปัญหาวิกฤตวัย
กลางคนได้เมื่ออายุมากขึ้น เช่น คนที่ไม่ดูแลสุขภาพก็จะเจอกับความเสื่อมของร่างกายได้มากและเร็วกว่าปกติ
ข้อแนะนำการจัดการกับวิกฤตวัยกลางคน
1.ต้องเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจชีวิต
2.ปรึกษาผู้อื่นเสมอในเรื่องที่สำคัญ
ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องให้เวลาในการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
ปรึกษาผู้ที่ควรปรึกษา เพื่อลดโอกาสที่จะตัดสินใจผิดพลาดให้น้อยที่สุด
3.ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายจะช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ทำให้สุขภาพแข็งแรง
4.หากิจกรรมทำทดแทน
ในกรณีของภาวะ “รังที่ว่างเปล่า”
ต้องหากิจกรรมอื่นทำทดแทนเพื่อไม่ให้เบื่อและเศร้า
5.การใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ ดูแลสุขภาพกายและใจตัวเองให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
6.ใส่ใจดูแลรูปร่างของตัวเองให้ดูดีตามสมควร
7.รูปร่างหน้าตาที่สวยงามในวัยหนุ่มสาว เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จ
จะต้องดูแลอย่างดีที่สุด แม้จะล่วงเลยมาถึงวัยกลางคน
8.อย่าหลงลืมที่จะแบ่งเวลาเพื่อเติมความหวาน
ให้กับความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะคู่รัก อย่าเล่นบทพ่อแม่ตลอดเวลา
9.วัยกลางคนไม่ใช่เพียงดูแลไม่ให้เกิดวิกฤตวัยกลางคนเท่านั้น
แต่สำคัญมากสำหรับผู้หญิงวัยกลางคน ต้องสามารถดูแลสุขภาพกายและใจ
ความสวยความงามและเสน่ห์ให้คงอยู่นานเท่านาน
10.การเปลี่ยนผ่านช่วงวัยกลางคน จะพบได้ในวัยผู้ใหญ่ทั่วไป
การเข้าใจถึงสภาวะนี้และวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยให้ไม่ต้องเผชิญกับวิกฤต
วัยกลางคนและทำให้ชีวิตส่วนตัว ครอบครัวมีความสุขตลอดไป